วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน


แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จุดมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
             ประการแรก คือ การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนและการเรียนรู้ของผู้เรียนในระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง บันทึก วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล แล้วนำมาใช้ในการส่งเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครู
            การวัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการเรียนรู้ ซึ่งมีหลายระดับ ได้แก่ เมื่อเรียนจบหน่วยการเรียน จบรายวิชาเพื่อตัดสินให้คะแนน หรือให้ระดับผลการเรียน 
การกำกับดูแลคุณภาพการศึกษา
           1.  การประเมินระดับชั้นเรียน
           2. การประเมินระดับสถานศึกษา
           3. การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา
           4.  การประเมินระดับชาติ 
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑
          คุณภาพผู้เรียน
          การเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
          การอ่านวิเคราะห์และเขียน
          คุณลักษณะอันพึงประสงค์
การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
         อ่าน (รับสาร) :  หนังสือ เอกสาร โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต สื่อต่าง ๆ ฯลฯ แล้วสรุปเป็นความรู้ความเข้าใจ ของตนเอง
         คิดวิเคราะห์ : วิเคราะห์ สังเคราะห์ หาเหตุผล แก้ปัญหา และสร้างสรรค์
         เขียน (สื่อสาร) : ถ่ายทอดความรู้ ความคิด สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ 
การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางฯ
            1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
            2.  ซื่อสัตย์สุจริต
            3.  มีวินัย
            4. ใฝ่เรียนรู้
            5. อยู่อย่างพอเพียง
            6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
            7.  รักความเป็นไทย
            8.  มีจิตสาธารณะ
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
            ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ
            ดี หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ
            ผ่าน หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ แต่ยังมีข้อบกพร่องบางประการ
            ไม่ผ่าน หมายถึง ไม่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนหรือถ้ามีผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลายประการ
 การสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
            ดีเยี่ยม หมายถึง ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน ๕-๘ คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี
            ดี หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการยอมรับของสังคม โดยพิจารณาจาก ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน ๑-๔ คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน ๔ คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ๓. ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน ๕-๘ คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน
            ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษากำหนดโดยพิจารณาจาก ๑. ได้ผลการประเมินระดับผ่าน จำนวน ๕-๘ คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดี จำนวน ๔ คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน
            ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษากำหนด โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ตั้งแต่ ๑ คุณลักษณะ 
การเลื่อนชั้น
            ๑) ผู้เรียนมีเวลาเรียนตลอดปีการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด
            ๒) ผู้เรียนมีผลการประเมินผ่านทุกรายวิชาพื้นฐาน
            ๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
การเรียนซ้ำชั้น
            ผู้เรียนที่ไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น สถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียน เป็นสำคัญ 











การวัดและการประเมินผล

การวัดผลและประเมินผ
ความหมายของการวัดผล
      การวัดผล หมายถึง  กระบวนการในการกำหนดตัวเลขแทนปริมาณของสิ่งต่างๆที่ต้องการการวัดหรือคุณลักษณะ (Traits) ที่ต้องการวัดอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ โดยจะต้องมีเครื่องมือที่ใช้วัดและผลการวัดที่ได้จะตอบคำถามที่ว่าสิ่งที่จะวัดมีจำนวนมากน้อยเท่าไร (How much) จากตัวอย่างที่กล่าวมาการวัดผลจะประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 3 ประการคือ
                      1. คุณลักษณะที่ต้องการวัด หมายถึง คุณลักษณะของสิ่งที่เราต้องการศึกษา เช่น ความสูง น้ำหนัก ความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น
                2. เครื่องมือที่ใช้วัด เครื่องมือที่ใช้วัดนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ไม้เมตร ตาชั่ง แบบทดสอบ เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องเลือกเครื่องมือให้สอดคล้องกับคุณลักษณะที่ต้องการวัด
                        3. วิธีการที่ให้ผู้ถูกวัดแสดงพฤติกรรมออกมา
                        4. ผลที่ได้จากการวัด ผลที่ได้จากการวัดมักจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ ที่แทนลักษณะของสิ่งที่วัด เช่น สมชายสูง 160 เซนติเมตร หรือธิดาสอบวิชาภาษาไทยได้ 20 คะแนน เป็นต้น
ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นจากการสอบสามารถเขียนเป็นสมการพีชคณิต ได้ดังนี้
               X= T+E  คะแนนที่สอบได้= คะแนนจริง + คะแนนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อน